หลักเกณฑ์การพิจารณารอยสัก สำหรับการสอบคัดเลือกเข้าเป็น นนส. และนายทหารประทวนของ ทบ. สรุปได้ดังนี้ 

๑. การสอบคัดเลือกเข้าเป็น นนส. และนายทหารประทวนของ ทบ. ให้ใช้มาตรฐาน ในการพิจารณาเกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้ที่มีรอยสักในรูปแบบเดียวกัน กล่าวคือ อนุโลมให้สำหรับผู้ที่มีรอยสักในร่มผ้า ซึ่งมองไม่เห็นจากภายนอกเมื่อแต่งกายชุดกีฬา (เสื้อคอกลมแขนสั้น กางเกงกีฬาขาสั้น ถุงเท้าและรองเท้ากีฬา) โดยให้ใช้มาตรฐานการแต่งกายชุดกีฬา 

การแต่งกายชุดกีฬาหน่วย ฉก.ทม.รอ.๙๐๔ ตามภาพประกอบ มีรายละเอียดดังนี้ 

๑.๑ เสื้อยืด ให้ผู้สอบคัดเลือกฯ สวมเสื้อยืดคอกลมในรูปแบบเดียวกันกับหน่วย ฉก.ทม.รอ.๙๐๔ ในการพิจารณา หากมองเห็นรอยสักจากภายนอกให้ถือว่าไม่เหมาะสมและให้คัดออก 

๑.๒ กางเกงกีฬาขาสั้น ให้ผู้สอบคัดเลือกฯ สวมกางเกงขาสั้น ความยาวของกางเกงไม่เกิน ๒ ใน ๓ ของต้นขา ในรูปแบบเดียวกันกับหน่วย ฉก.ทม.รอ.๙๐๔ ในการพิจารณา หากมองเห็นรอยสักจากภายนอกให้ถือว่าไม่เหมาะสมและให้คัดออก 

๑.๓ ถุงเท้า ให้ผู้สอบคัดเลือกฯ สวมถุงเท้า ความยาวของถุงเท้าไม่เกิน ๑ ใน ๔ ของปลายขา ในรูปแบบเดียวกันกับหน่วย ฉก.ทม.รอ.๙๐๔ ในการพิจารณา หากมองเห็นรอยสัก จากภายนอกให้ถือว่าไม่เหมาะสมและให้คัดออก

 ๒. หากผู้มีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณารอยสักสำหรับการสอบคัดเลือกโดยใช้หลักเกณฑ์ตามมาตรฐานในข้อ ๑.๑ - ๑.๓ ใช้ดุลยพินิจในการพิจารณาแล้วเห็นว่าไม่น่ารังเกียจ และไม่ส่งผลกระทบในเชิงลบต่อภาพลักษณ์ของ ทบ. อาจอนุโลมให้เป็นกรณีพิเศษเฉพาะกรณีว่าไม่ขัดต่อการเป็น นนส. หรือนายทหารประทวนของ ทบ. 

 จากคำสั่ง กองทัพบก ที่ ๒๔๓/๒๕๖๓ ลง ๒๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๓

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

แนะแนว เส้นทางสนามสอบเป็นทหารหญิง ในปี 2561 แบบไม่เป็นทางการแต่ได้แรงใจ

แนะแนว เส้นทางของ นายสิบนักเรียน เหล่า การเงิน เจาะลึกคุณสมบัติ การเตรียมตัวสอบ เพื่อน้องๆผู้ที่มีความสนใจ

14 อัตรา กองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ เปิดรับสมัครสอบ บุคคลพลเรือน / ทหารกองหนุน ( ชาย ) สอบคัดเลือกเข้ารับราชการ เป็นนายทหารประทวน